Skip to content

ข่าววิชาการบรรพชีวินวิทยา

ซอโรพอดคืออะไร?

ไดโนเสาร์ซอโรพอด เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มที่เราเรียกกันว่า “ซอโรโพดา (Sauropoda)” ที่มีลักษณะที่โดดเด่นน่าจดจำได้คือ มีลำตัวขนาดใหญ่ คอยาว หางยาว เดินสี่ขา และกินพืชเป็นอาหาร โดยพวกซอโรพอดถือเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลกตลอดการณ์ ไดโนเสาร์ซอโรพอดทั้งหมดจะมีลักษณะทางร่างกายร่วมกัน คือมีหัวขนาดเล็กและช่วงลำคอที่ยาวถ่วงน้ำหนักด้านหางที่ยาวเช่นกัน และมีช่วงท้องที่หนัก ค้ำยันด้วยขาทั้งสี่ใต้ลำตัวที่ตั้งตรงเหมือนกับเสา ทำให้ร่างกายของพวกมันเหมือนคานที่สมดุลขนาดยักษ์นั่นเอง ทั้งช่วงหัวไหล่และสะโพกของซอโรพอดประกอบด้วยกระดูกสันหลังที่เชื่อมติดกันแน่น ช่วยให้น้ำหนักร่างกายอันมโหฬารของพวกมัน แต่ในขณะเดียวกัน กระดูกคอและกระดูกสันหลังก็เต็มไปด้วยโพรงอากาศและถุงลม ที่ช่วยลดน้ำหนักร่างกายและคงซึ่งความแข็งแกร่งนี้ไว้ เดิมทีเมื่อกว่าร้อยปีก่อน ไดโนเสาร์เหล่านี้เคยถูกเชื่อกันว่าเป็นสัตว์น้ำ เพราะอาจไม่สามารถรับน้ำหนักตัวขนาดใหญ่บนบกได้ แต่อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทั้งหมด ตั้งแต่ฟัน ลำคอที่ยาว และกระดูกกลวง รวมถึงขาและกระดูกสันหลังที่แข็งแกร่ง บ่งบอกเราว่าพวกมันคือหนึ่งในสัตว์บกที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก โดยคอที่ยาวของพวกมันเอื้อให้สามารถกินใบไม้บนยอดไม้ได้ ในขณะที่สัตว์ชนิดอื่นๆไม่อาจเอื้อมถึง คล้ายกับยีราฟในปัจจุบัน และฟันที่มีทรงแหลมคล้ายแท่งดินสอหรือใบไม้ ช่วยให้พวกมันเคี้ยวพืชแข็งๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไดโนเสาร์ตัวที่ 13 มินิโมเคอร์เซอร์

ไดโนเสาร์ตัวที่ 13 มินิโมเคอร์เซอร์ ทีมงานเราเป็นผู้ทำภาพยนตร์แอนนิเมชันให้กับข่าวในการค้นพบ “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส” ไทยค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่ตัวที่ 13 ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กค้นพบจากแหล่งภูน้อย จ.กาฬสินธุ์ ออกอากาศ ณ กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ วันที่ 26 ก.ค. 2566 จากก้อนหินหินขนาดเล็กที่ถูกโคลนพอกไม่อยู่ในสายตาและคัดทิ้งไว้ในแหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ภูน้อยด้วยความบังเอิญและช่างสังเกตของทีมสำรวจนักบรรพชีวินวิทยาจึงหยิบกลับขึ้นมาศึกษากลายมาเป็นนักวิ่งตัวจ้อยแห่งภูน้อย “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส”  (Minimocursor phunoiensis)  ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก กลุ่มกระดูกเชิงกรานแบบนกหรือออร์นิธิสเชียน (Ornithischia) ที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค้นพบที่ภูน้อย จังหวัดกาฬสินธุ์ หรือจูแรสซิกปาร์คเมืองไทย ในหมวดหินภูกระดึง ยุคจูแรสสิกตอนปลาย (150 ล้านปี) ตัวแรกของประเทศไทย และเป็นไดโนสาร์สายพันธุ์ไทยตัวแรกของจังหวัดกาฬสินธุ์   ดร.พรเพ็ญ จันทสิทธิ์ นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ… Read More »ไดโนเสาร์ตัวที่ 13 มินิโมเคอร์เซอร์

× How can I help you?